หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์
ตอนที่ ๑
โดย อาจารย์แอน
หลักพื้นฐานทางด้านโหราศาสตร์
นอกจากจะมีดาวเกษตรแล้ว เรายังมีหลักวิชาที่เรียกว่า ทักษา
ซึ่งเป็นวิชาที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน สามารถนำไปใช้ได้ทันที
ทักษาเป็นวิชาหนึ่งในการสร้างบ้านสร้างเมือง ใช้กันมากในไทย พม่า มอญ
ทักษาเข้ามาในสมัยสุโขทัย จากมอญที่ชื่อ อุบากอง เริ่มต้นด้วยยามอุบากอง
จากนั้นระบบทักษาก็เข้ามา เราต้องบอกว่าทักษาไม่ใช่วิชาโหราศาสตร์ไทย
แต่ผนวกอยู่ในโหราศาสตร์ไทย
เขาจะเริ่มต้นจากตัวเมืองว่าประตูไหนเป็นประตูมงคลหรือประตูศรี
ประตูไหนไม่เป็นมงคลหรือกาลกิณี เกตุเมืองหรือใจกลางเมือง ไม่ว่าจะเป็นพระเจดีย์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือวัด วัง
อันนี้ถือว่าเป็นหลักของเขาพระสุเมรุ เพราะฉะนั้น
ทักษามีการพัฒนามาจากหลักของเขาพระสุเมรุ
ซึ่งเป็นของศาสนาฮินดูและใช้ในการสร้างวัด เทวาลัย สมัยขอมจะใช้หลักนี้ทั้งหมดเลย
การสร้างเมืองแบบโบราณก็ใช้ระบบทักษา
สมัยโบราณจะใช้ระบบทักษาครอบคลุมไปหมด
การสร้างเมืองจะใช้ในแบบรูปทรง ในการศึกพิชัยสงคราม ใช้ในลักษณะของนาม
การจัดทัพแบบ ครุฑนาม นาคนาม การตั้งทัพในทำเลสุนัขนาม อัชนาม
หรือใช้ในลักษณะนามในรูปพิชัยสงคราม ต่อมาพัฒนาเป็นในรูปการดูชัยภูมิที่อยู่อาศัย
สมมติให้กระดานชนวนเป็นรูปสี่เหลี่ยม
คือสมัยก่อน โหราศาสตร์ก็ใช้แต่กระดานชนวน แล้วก็ตีตารางเป็น ๙ ช่อง เริ่มต้น
ที่ช่องกลางขวา ใส่ดาวพุธลงไป เลข ๔ จากนั้นก็นับไป ๖
ดาวพุธจะโคจรเข้าหาดาวอาทิตย์ ตำแหน่งที่พุธอยู่คือทิศใต้
เราเปรียบเทียบว่าตรงกลางขวาคือทิศใต้ ตรงกันข้ามคือทิศเหนือ ด้านบนกลางคือตะวันออก
ด้านล่างกลางคือตะวันตก ที่ด้านกลางขวาเราใส่เลข ๔ ดาวพุธ แล้วก็นับไปหาดาวอาทิตย์
นับไป ๖ ช่อง ถามว่าทำไมต้องนัดไป ๖ ช่อง เพราะดาวอาทิตย์จะเป็นจุดเริ่มต้น
เพราะฉะนั้นเราต้องหาจุดเริ่มต้นของตารางทั้งหมด ก็คือตารางซ้ายบน นับไปได้ ๖
ใส่ดาวอาทิตย์ เท่ากับอาทิตย์ มีกำลัง ๖ จากดาวอาทิตย์ เราเดินไปหาดาวบาปเคราะห์
นับต่อเนื่องไป ๖ ๗ ๘ ใส่ดาวอังคาร มีกำลัง ๘ นับต่อไป ๘ ๙ ๑๐ มาที่มุมขวาล่าง
ใส่ดาวเสาร์ลงไป เท่ากับดาวเสาร์มีกำลัง ๑๐ นับต่อ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ไปหาดาวราหู
ดาวราหูก็อยู่ซ้ายล่างมีกำลัง ๑๒ ก็จบดาวบาปเคราะห์
ตารางทักษา แสดงกำลังพระเคราะห์ |
รองจากอาทิตย์ก็คือดาวจันทร์ เพราะจันทร์จะต้องอยู่ต่อจากดาวอาทิตย์ ก็นับต่อจากราหู ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ นับไล่ขึ้นไปก็จะถึงกลางบน ทิศตะวันออก ใส่ดาวจันทร์ มีกำลัง ๑๕ นับต่อไป เราก็กลับมาที่ดาวพุธ เท่ากับดาวพุธมีกำลัง ๑๗ จากพุธไปหาพฤหัส นับไป ๑๘ ๑๙ เท่ากับดาวพระพฤหัสมีกำลัง ๑๙ นับต่อ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ใส่ดาวศุกร์ เท่ากับดาวศุกร์มีกำลัง 21
สาเหตุที่ใส่กำลังของดาวก่อน เพราะถ้าเราใส่เรียงในตาราง อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ก่อน ก็จะมีคำถามว่า ทำไมจากพุธไม่ไปพฤหัสก่อน แต่ทำไมมีดาวเสาร์มากั้น เพราะเขามีวิธีนับการโคจร นับดาวบาปเคราะห์ก่อนแล้วค่อยนับดาวศุภเคราะห์ มันจึงเว้นช่องและได้กำลังดาว ๑๐๘ ด้วย ตรงกลางตารางใส่เลข ๙ ลงไป คือ ดาวเกตุ เวลาเราไปทำบุญที่วัด มีพระพุทธรูปประจำวัน ดาวศุกร์จะต้องหยอดเยอะที่สุดคือ 21 บาท ก็มาจากกำลังดาวนั่นเอง เพราะฉะนั้น การใส่ดาวในตารางทักษา ถ้าเราใส่แบบท่องจำ เราจะไม่รู้ว่ากำลังดาวมาจากไหน และทำไมเมื่อถึงดาวอังคาร พุธ แล้ว ไม่ลงพฤหัสแต่เป็นดาวเสาร์ เพราะว่าดาวศุภเคราะห์ บาปเคราะห์ จะอยู่เว้นกันในการนับแบบนี้ รวมกำลังดาวทั้งหมดรวมดาวเกตุตรงกลางด้วย ได้ ๑๐๘ เขาจึงบอกว่าตรงกลางคือเกตุเมือง คือการรวมทั้งหมดผสมผสานกัน ที่ตรงใจกลางเมือง เข้าหลักเขาพระสุเมรุ เพราะฉะนั้น เหล่าดาราน้อยใหญ่ที่สลับนับกันตามกำลังดาวตรงนี้ล้อมดาวเกตุอยู่ ดาวเกตุคือศูนย์กลางจักรวาล รอบๆ คือดาวที่เรียกว่าสัตบริคณห์ นี่คือหลักทักษา