หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ ๒ โดย อาจารย์แอน

หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ ๒
โดย อาจารย์แอน

        ระบบทักษาจะไม่ใช้ ๑๒ ภพแบบโหราศาสตร์ไทย แต่จะใช้ ๘ เรื่องราว คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี

-บริวาร คล้ายๆ กับตนุ แต่จากครอบคลุมกว้างกว่า ตนุ คืออะไรที่เกี่ยวกับตัวตน แต่คำว่า บริวาร มันคือทุกอย่างที่เราเกี่ยวข้องด้วย เช่น คนแวดล้อม ผู้ติดตาม คนรับใช้ใกล้ชิด บุตร ภรรยา คนในบ้าน ลูกจ้าง ผู้ใต้บังคับบัญชา ดาวบริวาร ก็คือดาววันเกิดของเรา
-อายุ ก็จะรวมทุกอย่างที่ทำให้เราแข็งแรง สุขภาพ ความคิด การวางแผนงาน อารมณ์
-เดช คือ อำนาจ ตำแหน่ง แสงสว่าง คือสิ่งที่ทำให้เราคิดได้ ปัญญาที่จะก้าวไปข้างหน้า
-ศรี คือ ผลของการก้าวไปข้างหน้า คือความเจริญอันสูงสุด
-มูละ คือ การสืบทอด คือการสรรหาความเป็นปึกแผ่นหลังจากที่เรามีความเจริญงอกงามแล้ว สืบทอด งอกงามแล้วก็ปลุกปัก แปลว่าอสังหาฯ ก็ได้ หรือการสืบทอดในลักษณะพันธุกรรมหรือมรดก
-อุตสาหะ หมายถึง การเดินทางไกล การงาน การเรียน การค้า คือสิ่งที่เป็นกิจกรรมทั้งหมด
-มนตรี คือ ความรักในครอบครัว การอุปถัมภ์ค้ำจุน คล้ายๆ ดาวศุภะ ความช่วยเหลือ ความรัก อารมณ์ความรู้สึก การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เจ้านาย ผู้หลักผู้ใหญ่
-กาลกิณี คือ ความเสื่อมของชีวิต เหมือนกับเริ่มต้น เรามีทุกอย่างมาแล้วก็ถึงความเสื่อมในชีวิต
ษณอนงค์ คำแสนหวี,อาจารย์แอน,www.sana-anong.com,ajarn ann team
ธาตุตามทักษา

นี่คือความหมายของทักษา ซึ่งจะคล้ายๆ กับโหราศาสตร์ไทย และมีการใช้ธาตุเหมือนกัน เริ่มต้นที่อาทิตย์เป็นธาตุไฟ จันทร์เป็นธาตุดิน อังคารคือลม พุธคือน้ำ แล้วก็เริ่มใหม่ ไฟ ดิน ลม น้ำ เราก็จะได้คู่ธาตุว่า อาทิตย์กับเสาร์ คือคู่ธาตุไฟ เราก็จะได้คู่ธาตุทางทักษา เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าทักษามีระบบการพยากรณ์เหมือนกัน โดยลดจาก ๑๒ ภพ มาเป็น ๘ เรื่องราว เราไม่เรียกว่าโหราศาสตร์ไทย เพราะเขามีระบบของเขาโดยครบถ้วน เราสามารถใช้ทักษาและโหราศาสตร์ไทยควบคู่กัน แต่ถ้าจะอ่านเฉพาะทักษา ก็สามารถพยากรณ์ได้สำหรับผู้ที่ไม่รู้เวลาเกิด แต่รู้วันเกิด เพราะฉะนั้นระบบทักษาจะเป็นระบบที่ไม่ละเอียดเท่าดวงชะตาเพราะไม่มีการผูก สมผุส แต่สามารถพยากรณ์ได้กว้างๆ โดยใช้ดาววันเกิด