หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ ๖ โดย อาจารย์แอน

หลักทักษาในวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ ๖
โดย อาจารย์แอน


          หลักทักษาไม่ใช่ลูกเล่นของโหร มีความซับซ้อน ละเอียด แต่ตำราบางอย่างก็สูญหายไป บางช่วงบางตอนก็ขัดแย้งกันเอง  ดังนั้น โหรไทยถึงไม่ใช้ เพราะเห็นว่า ในวิชาโหราศาสตร์ไทยมีความละเอียดเพียงพอแล้ว ก็เลยใช้เพียง เดช ศรี มนตรี กาลกิณี มาเป็นองค์ประกอบในการพยากรณ์  แต่ในความเป็นทักษา ถ้าศึกษาอย่างลึกซึ้งและค้นคว้าอย่างจริงจัง จะเห็นว่ามีความพิสดารในการพยากรณ์ และยิ่งถ้าเอาความพิสดารนั้น มาเป็นองค์ประกอบร่วมกับการพยากรณ์ดวงชะตาแล้วจะได้ความละเอียดมากขึ้น
ทักษา สามารถนำมาใช้ในเรื่องทิศมงคลได้ด้วย เพราะทักษาเป็นเรื่องของทิศ  เราสามารถสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า ในหลักของเขาพระสุเมรุ มีความคล้ายคลึงกับหลักของจีนในเรื่อง ๕ ธาตุ ๘ ทิศ  เมื่อเอา ๒ ศาสตร์มาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความเปรียบที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์  หลักเขาพระสุเมรุก็เหมือนกับ ๘ ทิศ มีทิศเฉียง ทิศตรงเหมือนกัน และแต่ละทิศ ก็มีความสำคัญ ทางจีนก็มีบอกว่าทิศไหน เป็นประตูมงคล ประตูตาย  ทักษาก็มี อย่างเช่น 
ดาวพุธประจำทิศใต้ 
ดาวศุกร์ประจำทิศเหนือ 
ดาวจันทร์ประจำทิศตะวันออก 
ดาวพฤหัสประจำทิศตะวันตก  
ดังนั้น ดาวอาทิตย์ก็จะเป็นตะวันออกเฉียงเหนือ 
ดาวอังคารเป็นตะวันออกเฉียงใต้ 
ดาวเสาร์ก็จะเป็นตะวันตกเฉียงใต้ 
และดาวราหูก็เป็นตะวันตกเฉียงเหนือ 
ดาวเกตุอยู่ตรงกลาง 
ดังนั้นเมื่อดาวเกตุเป็นกลางและก่อนเข้าดาวเกตุคือดาวอาทิตย์ อาทิตย์กับเกตุจึงเป็นอัพยากฤตคือดาวกลาง


เกิดวันอาทิตย์ ทิศศรีของคนเกิดวันอาทิตย์คือทิศใต้  
เกิดวันจันทร์ ทิศศรีของคนเกิดวันจันทร์คือตะวันตกเฉียงใต้ 

เราก็เอาหลักอันนี้มาใช้ในการสร้างบ้านสร้างเมือง  อย่างเช่นจังหวัดเชียงใหม่หลังอิงทิศตะวันตก หน้าหันไปทิศตะวันออก ทิศศรีของเมืองอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือตำแหน่งแจ่งศรีภูมิ  กรุงอังวะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแม่น้ำมี๊ตเหงะ (Myitnge) ไปบรรจบกับแม่น้ำอิรวดีตรงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จุดนั้นสร้างหอคอยขึ้นมาในตำแหน่งทิศศรีและมีแม่น้ำมาบรรจบที่ทิศนั้นอีกหนึ่งชั้น เมืองจึงมีความอุดมสมบูรณ์ กรุงอังวะจึงมีอายุยืน ๔๐๐ ปี  ดังนั้นนอกจากใช้ทักษาในการสร้างเมืองแล้ว ตำแหน่งศรีก็ต้องทำให้ดีและโดดเด่น อย่างเช่นเมืองเชียงใหม่ ชีม่านมาหลอกทำลายตำแหน่งศรี เชียงใหม่ก็แตก

 
อาจารย์แอน, ษณอนงค์ คำแสนหวี, www.sana-anong.com,ajarn ann team
ทักษานาม

อย่างนี้เป็นหลักพิชัยสงคราม แปลว่า หลักในการทำยุทธเพื่อชัยชนะ รวมทั้งหมด ทั้งการรบ หลักการจัดทัพ และเอาหลักทักษาเข้าไปผนวกในเรื่องของนามด้วย เช่น อาทิตย์เป็นครุฑนาม ดาวจันทร์เป็นพยัคฆ์นาม ดาวอังคารเป็นสิงหนาม ดาวพุธเป็นสุนัขนาม ดาวเสาร์เป็นนาคนาม ดาวพฤหัสเป็นมุสิกนาม ดาวราหูเป็นคชนาม ดาวศุกร์เป็นอัชนาม และนามต่างๆ เหล่านี้จะบอกพื้นที่ ว่าลักษณะแบบนี้เรียกว่าอะไร เช่น ลักษณะเป็นหมู่บ้านเป็นสุนัขนาม พื้นที่โปร่งโล่งซึ่งไม่เหมาะกับการรบเลยเป็นอัชนาม มุสิกนามคือลงใต้ดิน  การรบบนภูเขาถ้าไม่เป็นครุฑนามก็สิงหนาม ถ้ารบในที่หนองที่ลุ่มอย่างการทำยุทธหัตถีเป็นนาคนาม