พิชัยสงครามกับสามก๊ก
ตอนที่ ๒/๒
โดย
อ.ษณอนงค์ คำแสนหวี (อาจารย์แอน)
ในปี
พ.ศ. ๗๑๘ เล่าปี่ได้รับการอุปถัมภ์ให้เข้าเรียนหนังสือ
มีกงซุนจ้านเป็นเพื่อนร่วมชั้น เล่าปี่ไม่สนใจการเรียนเท่าไร แต่กลับมีมิตรมากมาย
อันนี้แหละเป็นคำตอบในภายหลังว่า ทำไมรบไม่เก่ง แต่มีคนมาช่วยเยอะแยะ
เล่าปี่มีสหายทุกวรรณะ และมักชอบพูดถึงเรื่องการบ้านการเมือง
แสดงความเห็นในทำนองที่อยากเข้าไปแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองอยู่เสมอๆ
ที่เล่ามานี่ไม่มีในสามก๊กฉบับไหน
ตั้งแต่ของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) หรือฉบับของคุณสังข์ ข้าพเจ้าค้นเอาจากประวัติศาสตร์
และปี ค.ศ. ก็เทียบเป็น พ.ศ. เพื่อเอาเหตุก่อนเล่าเรื่องตามที่หลอกว้านจงเขียน
และปีนี้เป็นปีที่
ซุนเกี๋ยง ให้กำเนิดบุตรชาย นามว่า ซุนเซ็ก ซึ่งซุ่นเกี๋ยนรักบุตรชายคนนี้มาก
ให้ติดตามตนเองออกรบตั้งแต่เล็ก จนฝีมือกล้าแข็ง เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น
มีฉายาว่า “เสี่ยวป้าหวาง” หรือ เจ้าพ่อน้อย
จิวยี่ ก็ถือกำเนิดในปีนี้เช่นกัน ต่อมาก็ได้เป็นเพื่อนรักกับซุนเซ็ก
ถึงขนาดตายแทนกันได้
ทั้งยังเป็นคู่เขยกันเพราะทั้งสองหนุ่มต่างได้สองพี่น้องที่เลื่องลือกันถึงสุดยอดความงาม
คือ นางไต้เกี้ยวและเสียวเกี้ยว หรือที่เรียกว่า “นางสองเกี้ยว”
จิวยี่ผู้นี้
ต่อมาเป็นกำลังที่สำคัญที่สุดของแคว้นกังตั๋ง เชี่ยวชาญการรบทางเรือ
บิดาของจิวยี่เคยเป็นผู้ว่าราชการนครลั่วหยาง และเมื่อสภาวะแห่งสงครามเกิดขึ้น
ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า ได้อพยพครอบครัวลงมาทางใต้ และพบกับซุนเซ็ก
จิวยี่อ่อนกว่าซุนเซ็ก เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
นับวันแผ่นดินของพระเจ้าเลนเต้ก็ร้อนระอุ
ในช่วงระยะ ๒-๓ ปี กำเนิดบุคคลสำคัญมีมาโดยลำดับ ได้แก่ ขงเบ้ง บังทอง ม้าเฉียว
ซุนกวน ลกซุน
จนลุศักราช
พ.ศ.๗๒๗ เกิดเหตุการณ์จลาจลที่เรียกว่า “หวงจินเจ่ย... คือ โจรโพกผ้าเหลือง” หลังเทศกาลตรุษจีน
มีชายคนหนึ่งอ้างตนว่าเป็นผู้วิเศษ ซ่องสุมผู้คนคิดการใหญ่
อ้างตนเป็นเทวดามาปราบยุคเข็ญ
เตียวก๊ก เป็นบัณฑิตตกงาน
พอดีช่วงนั้นเกิดโรคระบาดที่เมืองลกกุ๋น ผู้คนป่วยไข้ล้มตายกันมาก
เมื่อเตียวก๊กเขียนยันต์ไปแจกตามบ้าน ความไข้ก็ทุเลาลง ตั้งแต่นั้นมาเตียวก๊ก
ก็เป็นที่พึ่งของประชาชน ต่างก็ตั้งชื่อเตียวก๊กไว้บูชาทุกบ้าน
เตียวก๊ก
ตั้งตนเป็นผู้นำประชาชนต่อต้านการปกครอง เห็นประชาชนพากันเลื่อมใสกันมากมาย
จึงรวบรวมกำลังได้ถึง ๘ หัวเมือง มีน้องชายเป็นผู้ช่วยสองคน คือ เตียวเลี้ยง
และเตียวป้อ ซึ่งถ้าเป็นภาษาจีนกลาง บุคคลทั้งหมดนี้ใช่แซ่จาง
ครั้งนั้น
เตียวก๊กหรือจางเจี่ยว ผู้นี้ประกาศว่าแผ่นดินจะผันแปร
แล้วจะมีผู้มีบุญมาครองแผ่นดิน เพื่อขจัดทุกข์เข็ญให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
แถมให้ชาวบ้านเขียนคำขวัญไว้ที่ประตูว่า ตรุษจีนปีชวดนี้แหละ บ้านเมืองจะสงบสุข
ถ้าเทียบสี่ฤดูกาล
นับแต่ยุคชุนชิวมา ตามหลักของการทำสงครามของ เจียงไท่กง จะรบชนะ
ต้องเริ่มทำนาเพาะปลูก ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ หรือหลังตรุษจีน โจรโพกผ้าเหลือง
ปฏิบัติตามตำราเป๊ะ ถึงปราบยากปราบเย็น
จางเจี่ยวประกาศแข็งเมือง
ตั้งตนเป็นเจ้าแห่งสวรรค์ จางเหลียงเป็นเจ้ามนุษย์ จางเป่าเป็นเจ้าแผ่นดิน
คือครบหมดสามโลกเลย กำลังพลของจางเจี่ยว หรือเตียวก๊ก
ล้วนโพกผ้าเหลืองเป็นเครื่องหมาย
สามก๊ก |
ถ้าดูตามดวงจีน
จะมีคำว่า เทียน แปลว่าสวรรค์ ตี่ คือ ดิน และ นั๊ง
คือมนุษย์ คือ ได้ตำรามาจากนักพรต ว่าด้วย ซำง๊วง เห็นได้ชัดว่าใช้หลักของวิชาภูมิพยากรณ์
ทั้งการบริหาร และจัดทัพ
เมื่อบวกกับความละเอียดของดวงไทยที่ให้จังหวะโอกาสที่เหมาะสม
โจรโพกผ้าเหลืองก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว